ทีมบริหารฝ่ายพัฒนาสินค้ามาตรฐานฮาลาลาลเพื่อการค้าและการส่งออก
สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถเข้าแข่งขันในธุรกิจตลาดสินค้าฮาลาล ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เข้าถึงตลาดประชากรมุสลิมจำนวนหลายพันล้านคน การสนับสนับสนุนคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับผ่านการรับรองฮาลาล จะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและมีศักยภาพสามารถเป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐานฮาลาลได้

มารุต เมฆลอย
นายกสมาคม
-
นายกสมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม
-
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์มาตรฐานฮาลาลเพื่อการค้าและการส่งออก

ชวลิต ติเพียร
ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
-
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Islamic Branding / Food innovation and Food safety
-
Master of Science :technopreneur ship and innovation management จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัชวาล อรวัฒนะกุล
Digital Marketing
-
ผู้ดูแลระบบออนไลน์ให้กับสมาคมฯ
-
ผู้ดูแลงาน Digital Marketing

ดร.ฟูอ๊าต กันซัน
รองนายกสมาคม
-
รองนายกสมาคมฯ
-
นักวิชาการด้าน Halal standards
-
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
-
MBA Business-Management UTCC
-
DBA Business-Management UTCC
-
รางวัลงานวิจัย Best Paper : The Adoption of CICOT Halal Certification

รออีส สงศ์เสงี่ยม
เลขานุการสมาคม
-
Islamic Shariah : Halal standards Perspective
-
นิติศาสตร์อิสลาม Al-maahad addeeni Doha Qatar 🇶🇦
-
เศรษศาสตรการเงิน IIUM Malaysia

อิทธิพัทธ์ ลาวัง
ฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยี
-
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
-
Master of วิศวกรรมศาสต ร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สพ.ญ นินารีมาน บินนิมะ
เชี่ยวชาญด้าน Halal Science and Technical Operation
-
สัตวแพทย์ด้านอายุรกรรมทั่วไป
-
ศัลยกรรมเนื้อเยื่ออ่อน
-
บริหารจัดการโรงพยาบาลสัตว์ ทั้งในและ
ต่างประเทศ -
ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี
-
บริหารจัดการกิจการฮาลาล
-
ปรึกษาด้านการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาลทั้งในไทยและต่างประเทศ

สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม
ฝ่ายพัฒนาสินค้ามาตรฐานฮาลาลาลเพื่อการค้าและการส่งออก
พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการตามมาตรฐานฮาลาล
และการขอใช้เครื่องหมายฮาลาล
ข้อมูลล่าสุดในปี 2566 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป รายงานว่า ไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารมูลค่า 1.31 ล้านล้านบาท อาหารของไทยได้รับการยอมรับในหลายประเทศด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล ซึ่งหากนับเฉพาะอาหารฮาลาลคิดเป็นสัดส่วน 20% ของการส่งออกอาหารทั้งหมดของไทย
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสินค้าเกษตรธรรมชาติประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล ผลไม้กระป๋อง เครื่องปรุงรส โดย 60% ส่งออกไปยังประเทศมุสลิม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 64/65
นอกจากอาหารแล้ว สินค้าฮาลาลของไทยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวมุสลิม ซึ่งครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง แฟชั่น เวชภัณฑ์ การโรงแรมและท่องเที่ยวเชิงฮาลาล การผลิตและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป


ฝ่ายพัฒนาสินค้ามาตรฐานฮาลาลาลเพื่อการค้าและการส่งออก





พัฒนาสินค้าและบริการตามมาตรฐานฮาลาล และการขอใช้มาตรฐานฮาลาล ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถเข้าแข่งขันในตลาดสินค้าฮาลาลเพื่อการส่งออกตามมาตรฐานสากลได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม
ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจฮาลาลระดับนานาชาติ สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมสินค้าฮาลาลของประเทศ