top of page

ตลาดอาหารฮาลาลยังมีพื้นที่อีกมากสำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูปไทย

  • รูปภาพนักเขียน: ชัชวาล อรวัฒนะกุล
    ชัชวาล อรวัฒนะกุล
  • 21 มิ.ย. 2567
  • ยาว 1 นาที

บทความโดย

ดร.ฟุอัด กันซัน รองนายกสมาคมฝ่ายพัฒนาสินค้ามาตรฐานฮาลาลเพื่อการค้าและการส่งออก


ตลาดอาหารฮาลาล ซึ่งมีผู้บริโภคชาวมุสลิมทั่วโลกถึงประมาณ 2,140 ล้านคน ถือว่ามีศักยภาพสูง โดยมีมูลค่าการตลาดถึงประมาณ 1,369 พันล้านดอลลาร์ฯในปี 2561 (Salaam Gateway) โดยปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่อันดับ 9 ของโลก (Global trade atlas) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น ผลไม้ ข้าว แป้ง น้ำตาล เครื่องปรุงรส ซึ่งในส่วนของอาหารแปรรูปต่างๆที่ผู้ประกอบการ SME ไทยมีศักยภาพมาก และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SME ไทยที่จะขยายบทบาทในตลาดนี้เพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องการรับรองมาตรฐานฮาลาลเพื่อผู้บริโภคชาวมุสลิม ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มักไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและไม่ให้ความสำคัญต่อตราฮาลาล การส่งออกอาหารฮาลาลแปรรูปของไทยไปยังตลาดอาหารฮาลาลโลกจึงมีมูลค่าในสัดส่วนที่ต่ำ ไก่และเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารทะเลแปรรูป อหารกึ่งสำเร็จรูป ผักและผลไม้แปรรูป เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มสมุนไพร และอื่นๆ ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก


สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) มองเห็นว่า ตลาดอาหารฮาลาลมีศักยภาพเหล่านี้ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2570  ตลาดอาหารฮาลาลโลกจะมีมูลค่า 2,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (Salaam Gateway) คิดเป็น สัดส่วนราวร้อยละ 17 ของเงินค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นมูลค่านำเข้าอาหารของประเทศหรือรัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) จำนวน 57 ประเทศมีมูลค่า 210 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของมูลค่าตลาด 


 


โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการอาหารแปรรูปของไทย ยังมีพื้นที่อีกมากให้ผู้ประกอบการเข้าแข่งขัน  สิ่งที่มีความน่าสนใจมากกว่านั้นอีกก็คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เน้นให้ความสนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารออร์แกนิก และฟังก์ชั่นนัลฟูดส์ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีความเข้าในในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล จะเข้าใจดีว่ามาตรฐานการผลิตอาหารฮาลาลได้คำนึงถึงเงื่อนไขของอาหารเพื่อสุขภาพเข้าไปด้วย


และนอกเหนือจากประเทศมุสลิมแล้วที่เป็นตลาดเป้าหมายแล้ว ประเทศที่ไทยยังมีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่มีชาวมุสลิมอยู่มาก เช่น อินเดีย จีน รวมถึงเพื่อนบ้านในอาเซียน ซึ่งตลาดนี้มีความต้องการอาหารฮาลาลสูง อีกทั้งประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมุสลิมเข้าไปท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และอีกหลายๆประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม พยายามผลักดันตนเองเพื่อเข้าไปสู่ตลาดอาหารฮาลาลโลก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงมีความได้เปรียบประเทศเหล่านี้ในการผลิตอาหารฮาลาล ด้วยการเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลกที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการสนับสนุนจากรัฐบาลในการพัฒนาศักยภาพการผลิตฮาหารฮาลาล และด้วยสัดส่วนของชาวมุสลิมในประเทศที่มีมาก จึงทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้พร้อมในการผลิตอาหารฮาลาลพร้อม


 

สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) มองเห็นเป้าหมายนี้ที่ชัดเจน จึงต้องการให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอาหารฮาลาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากผู้บริโภคชาวมุสลิมทั่วโลก ขณะเดียวกันศึกษาถึงแนวโน้มความต้องการบริโภคอาหารฮาลาลแปรรูปแบบใหม่ๆ ตามไลฟ์สไตล์ ที่เปลียนแปลงไป รวมถึงการต้องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพิจารณาขยายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีศักยภาพการตลาดสูง โดยใช้ ฐานวัตถุดิบในประเทศเป็นตัวสนับสนุน สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) พร้อมเป็นเพื่อนเคียงข้างผู้ประกอบการในการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าฮาลาลตามมาตรฐานสากล ช่องทางในการทำการตลาด การจัดจำหน่ายและการส่งออกไปยังประเทศมุสลิม รวมถึงการวางแผนการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ผู้ประกอบการติดเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆจากประเทศคู่ค้า



สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) เราขอสัญญา “ก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปได้ไกล”

สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) มีนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถทางด้านธุรกิจอาหารฮาลาล และยังมีนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจในตลาดสินค้าฮาลาลมาอย่างยาวนาน เราพร้อมที่จะเคียงข้างผู้ประกอบการทุกรายเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน  สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) เราขอสัญญา “ก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปได้ไกล”



 

Comments


bottom of page